การผลิต

นวัตกรรมนำธุรกิจ พิชิตใจผู้บริโภค

ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ การค้า  สังคมและวัฒนธรรม ทำให้พฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยนไปเร็ว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องเพื่อให้ธุรกิจดำเนินการต่อไปได้ การผลิตสินค้าด้วยกรรมวิธีธรรมดาอาจจะไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย จำเป็นต้องใช้นวัตกรมเข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจ
เรื่องของนวัตกรรมอาจเป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี  แท้จริงแล้ว นวัตกรรมคืออะไรกันแน่ นวัตกรรมต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งใหม่และผูกติดกับเทคโนโลยีเสมอไปไหม วันนี้ EXAC ชวนมาหาคำตอบไปด้วยกัน

นวัตกรรมคืออะไร ?
นิยามของนวัตกรรมนั้นไม่ได้หมายถึงเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการปรับปรุงกระบวนการทำงานที่เป็นของใหม่ เปลี่ยนจากรูปแบบเดิมๆ มาผนวกกับความสามารถในการบริหารจัดการเพื่อสร้างให้เกิดเป็นธุรกิจใหม่ หรือผลผลิตของความสำเร็จทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำมาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือ ประโยชน์ต่อตนเอง เศรษฐกิจ และ สังคม

การจะเป็นนวัตกรรมใหม่ได้ จะต้องมี 3 องค์ประกอบนี้รวมอยู่ด้วย ได้แก่

 1.ความใหม่ (Newness)
สินค้าและบริการพัฒนาสิ่งใหม่ขึ้นมา เป็นไปได้ทั้งรูปแบบของการปรับปรุงจากของเดิม และการพัฒนาสร้างชิ้นงานขึ้นใหม่ มีที่แรกและที่เดียวในโลก 

2.การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ (Knowledge and Creativity Idea)
สินค้าและบริการต้องเกิดจากความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่พัฒนาขึ้นใหม่ ไม่ได้เกิดจากการลอกเลียนแบบ


3.ให้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefits)
สิ่งที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ต้องสามารถสร้างมูลค่าให้เพิ่มขึ้นได้ เป็นไปได้ทั้งมูลค่าจากเงินหรือไม่ใช่เงินโดยตรงก็ได้

 ทำความรู้จักนวัตกรรมทั้ง 3 ประเภท

1.นวัตกรรมจากตัวผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)
นวัตกรรมจากตัวผลิตภัณฑ์เป็นประเภทที่เราเห็นได้บ่อยที่สุด ชัดเจนที่สุด พบในสินค้าและบริการที่เป็นสิ่งใหม่ในตลาด นวัตกรรมประเภทนี้เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยให้แก้ปัญหาให้กับผู้คน เป็นสิ่งที่ช่วยให้ชีวิตมนุษย์ง่ายขึ้น และมักต้องใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการผลิต

นวัตกรรมจากตัวผลิตภัณฑ์มักมาในรูปแบบของการของการตอบโจทย์ความต้องการ เช่น เมื่อเราใช้รถยนต์จนรู้สึกว่าเปลืองน้ำมัน น่าจะมีรถที่ไม่ต้องเติมน้ำมันบ้าง ในที่สุดรถยนต์ไฟฟ้าจึงเกิดขึ้น หรือวันไหนที่เราขี้เกียจรีดเสื้อผ้า แล้วเกิดคำถามว่าทำไมไม่มีเสื้อที่ซักแล้วใส่ได้เลยไม่ได้ต้องรีด วันนี้เราก็มีเสื้อที่ใส่แล้วไม่ยับซึ่งเป็นสิ่งที่ได้กจากการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมขึ้นมา

ตัวอย่างนวัตกรรมจากตัวผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จในช่วง 10 ให้หลังมานี้ เด่นชัดที่สุดในโทรศัพท์ iPhone ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุดและต่อเนื่อง ออกรุ่นใหม่มาพร้อมนวัตกรรมที่ใหม่สำหรับผู้ใช้งานเสมอจึงทำให้บริษัทแอปเปิลครงความยิ่งใหญ่มาได้จนถึงวันนี้  

2.นวัตกรรมจากการผลิต (Process Innovation)
นวัตกรรมไม่เพียงแต่เป็นการสร้างสรรค์สินค้าและบริการแบบใหม่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการใช้กระบวนการผลิตแบบใหม่ที่ส่งผลให้การทำงานโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อมอบสินค้าและบริการไปถึงผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

นวัตกรรมจากการผลิตมักเป็นรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงหลังบ้าน คือเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ภายในองค์กรกันเอง ทั้งเรื่องเครื่องมือ กรรมวิธีการผลิต การจัดจำหน่าย หรือรูปแบบการจัดการองค์กร มุ่งเน้นไปในเรื่องของการควบคุมคุณภาพ การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากธุรกิจใดสามารถพัฒนานวัตกรรมประเภทนี้ได้ดีจะช่วยให้ได้เปรียบทางธุรกิจต่อคู่แข่งเป็นอย่างมาก

ตัวอย่างนวัตกรรมจากการผลิตที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ การทำเกษตรด้วยนวัตกรรม Smart Farmer โดยใช้ระบบของ AI ปัญญาประดิษฐ์ และ Internet of Things (IoT) เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานว่าจะเป็นระบบรดน้ำ โดรนพ่นปุ๋ย หรือรถดำนา โดยสั่งการผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่พกติดตัวไปได้ทุกที่ สร้างความสะดวกสบายในด้านการผลิตของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

3.นวัตกรรมทางธุรกิจ (Business Innovation)
นวัตกรรมทางธุรกิจ คือการสร้างสรรค์วิธีการทำธุรกิจในรูปแบบใหม่ที่สามารถหาเงินได้ มักเป็นผลสำเร็จของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมการผลิตที่สามารถตอบรับความต้องการของผู้บริโภคได้

ในวันนี้เราคงได้เห็นนวัตกรรมทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจนมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย กลายเป็นภาพชินตาในปัจจุบัน เช่น การทำธุรกิจแฟรนไชส์ การทำธุรกิจขายตรง การเปิดร้านขายของราคาเดียวทั้งร้าน หรือการเปิดร้านอาหารบุฟเฟ่ เป็นต้น

นวัตกรรมทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เช่น แอพพลิเคชั่นเรียนรถอย่าง Uber หรือ Grab รวมถึงธุรกิจเดลิเวอรี่อย่าง Food Panda ที่เริ่มจากการสร้าง ‘ผลิตภัณฑ์ใหม่’ จนติดตลาดและเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมจนกลายเป็นนวัตกรรมทางธุรกิจในที่สุด

 

Most Viewed
more icon
  • “น้ำ” ปัจจัยสำคัญในการผลิตที่ขาดไม่ได้

    “น้ำ” นอกจากจะเป็นปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตของมนุษย์แล้ว น้ำยังเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการผลิตของเกือบทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะใช้ในกระบวนการเตรียมวัตถุดิบ หรือธุรกิจเกษตรที่ต้องใช้น้ำในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์...

    calendar icon31.03.2020
  • คิดรอบด้านก่อนทำฟาร์มปศุสัตว์

    หากคิดจะทำธุรกิจสักประเภท ผู้ประกอบการจะต้องคิดให้รอบคอบ ควรจะต้องรู้จักรู้จริงในธุรกิจนั้นให้ครบวงจร หากไม่รู้จักธุรกิจที่จะทำอย่างถ่องแท้ โอกาสที่จะเพลี้ยงพล้ำเกิดง่ายกว่าคนที่ทำธุรกิจแบบตัวจริงที่รู้กระบวนการตั้งแต่ต้...

    calendar icon27.03.2020
  • การกระจายความเสี่ยง

    การกระจายความเสี่ยง เราน่าจะเคยได้ยินสำนวนภาษาอังกฤษ Don't Put All Your Eggs in One Basket. ซึ่งความหมายว่า ไม่ควรทุ่มเททุกสิ่งที่คุณมีอยู่ไปกับสิ่ง ๆ เดียว ซึ่งในความหมายส่วนใหญ่ก็จะเป็นทำการค้า การลงทุนซะเ...

    calendar icon28.05.2020