Exporter World Talk

วันที่ 17 มีนาคม 2564
Exporter World Talk EP: 13 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ ดร.สุภาพร สุขมาก กงสุล (ฝ่ายการพาณิชย์) และ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินท์ กระทรวงพาณิชย์ มาสนทนาอัปเดตสถานการณ์การค้า การลงทุนใน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ เป็นการให้ข้อมูลเชิงลึกจากคนในพื้นที่ถึงวิถีชีวิตแบบ New Normal ของชาวเวียดนาม ภาวะเศรษฐกิจว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และสินค้าไทยในตลาดเวียดนามได้รับความนิยมมากน้อยแค่ไหน
ดร.สุภาพร เล่าให้ฟังถึงสถานการณ์โควิดระบาดในเวียดนามว่า รัฐบาลเวียดนามมีการจัดการรับมือกับการแพร่ระบาดได้ดี รวดเร็วในการทำนโยบายและบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจัง ซึ่งการรับมือต่างๆ เหล่านี้ ก็ส่งผลกับเศรษฐกิจในประเทศเอง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการปิดสถานบันเทิง ปิดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมาก ห้ามมีการจัดงานแสดงสินค้า ห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้าน มีการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดนั่นหมายความว่าห้ามมีการปล่อยข่าวสารที่เป็นเท็จ จะมีโทษทั้งจำทั้งปรับ ถ้ามีการออกมาที่ชุมชนหรือที่สาธารณะ ก็จะต้องมีการใส่หน้ากากอนามัย ไม่อย่างนั้นก็จะถูกปรับสูงประมาณ 1 ล้านด่อง หรือ ประมาณ 1,300 - 4,000 บาท
อย่างไรก็ตาม เพื่อจะให้มีการควบคุมการแพร่ระบาดให้เร็วที่สุดภายในประเทศ เพราะเรื่องสาธารณสุขภายในประเทศยังไม่สามารถที่จะรองรับได้ถ้าเกิดมีการแพร่ระบาดขนาดใหญ่ เพราะฉะนั้นการควบคุมต่างๆ เขาจริงจังมาก หรือแม้กระทั่งการระงับเที่ยวบิน คือเวียดนามเป็นประเทศแรกๆ เลยที่ห้ามนักเดินทางต่างชาติเข้ามาในประเทศ เพราะกลัวว่าเดี๋ยวจะมีการนำเชื้อจากต่างประเทศเข้ามา ปิดน่านฟ้าปิดประเทศ แต่ว่าด้วยนโยบายหลักของเวียดนามเอง เล็งเห็นว่าถ้าเขาทำแบบนั้นแล้ว เขาสามารถควบคุม เรื่องของการแพร่ระบาดในประเทศ ซึ่งจะส่งผลกับเศรษฐกิจที่สามารถให้ทุกภาคส่วน ดำเนินธุรกิจได้ เพราะฉะนั้นความเข้มงวดเหล่านี้ส่งผลที่ดีกับภาพพจน์ ส่งผลที่ดีกับเศรษฐกิจของเวียดนาม
“คนเวียดนามสร้าง ความรับผิดชอบต่อสังคม คือหมายความว่าเขาจะส่ง Message ไปหาที่มือถือทุกคน แล้วบอกว่าท่านจะต้องอยู่ที่บ้านท่านจะต้องดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว ท่านอย่าทำให้คนอื่นเดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็น Message หรือว่าจะเป็นสัญญาณโทรศัพท์รอสายทุ กข้อความเหล่านี้มันเป็นการเตือนและสร้างในเรื่องของการรับผิดชอบทางสังคมของเวียดนาม ซึ่งในขณะเดียวกัน มันทำให้เศรษฐกิจของเวียดนามไปได้ เวียดนามในปีที่แล้วเป็นไม่กี่ประเทศที่เป็นบวกบวกถึง 2.91% ซึ่ง อันนี้เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก” ดร.สุภาพร กล่าว
ในปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ประเทศต่างๆ จะมี GDP ติดลบ เศรษฐกิจของเวียดนาม โชว์ให้เห็นว่ามีการกระตุ้นในทุกภาคส่วนที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ ซึ่งในปีที่ผ่านมาหนึ่งในนั้นที่ชัดเจนคือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งอันนี้ทำให้เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในประเทศเขาเอง และให้ความสำคัญในเรื่องของการผลิต เพราะเขารู้ว่าการผลิตหรือการลงทุน เป็นกลไกและหลักสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจของเขาดำเนินต่อไปได้ ส่วนเรื่องของการจ้างแรงงาน เรื่องของการพัฒนาบุคลากร เขาก็ดำเนินการควบคู่กันกับการรับมือการแพร่ระบาดของโควิดในปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ รัฐบาลเวียดนามเหมือนกับการมัดเงินให้กับทั้งภาคเอกชน และภาคประชาชนและภาคธุรกิจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลดหย่อนภาษี หรือการดีเลย์คืนภาษี เขาจะมีมาตรการ 1, 2 ,3 ออกมาให้กับภาคเอกชนที่ทำธุรกิจในเวียดนามเลย ส่วนภาคเอกชนเขาก็มีการช่วยเหลือ support เงินที่จะอุดหนุนในสถานการณ์ช่วงโควิด เขาก็ช่วยเหลือเช่นกัน เพราะว่ามันเป็นการช่วยพยุงเศรษฐกิจของเขาในระดับหนึ่งก่อนที่ สถานการณ์จะดีขึ้น
ดร.สุภาพร กล่าวว่า การที่เศรษฐกิจของเวียดนามมีการขยายตัวสูงขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลประโยชน์มาจากการทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ทั้งแบบทวิภาคี หรือ พหุภาคี ซึ่งเวียดนามมีนโยบายเรื่องของเขตการค้าเสรีในการที่จะไปผูกพันธมิตรกับนานาประเทศ และไปผูกพันธมิตรกับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ ซึ่งที่ผ่านมาเวียดนามเองก็ ทำ FTA กับหลายๆกลุ่มประเทศ ซึ่งอันนี้ทำคิดเป็นประมาณ 6 % ของ GDP ทั่วโลก ซึ่งอันนี้มันเป็นมูลค่าเยอะมาก และถ้าเรามาดูเรื่องของปีที่แล้ว เราจะเห็นว่าเวียดนามดำเนินนโยบาย FTA ที่สำคัญ ทั้ง มีผลบังคับใช้และลงนามมีทั้งหมด 3 ฉบับ
ตัวแรกที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ เรื่องของเขตการค้าเสรีสหภาพยุโรป และเวียดนาม หรือ EVFTA (The EU-Vietnam Free Trade Agreement ) อันนี้มีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่ปีที่แล้ววันที่ 1 สิงหาคม 2563 อันนี้มันส่งผลกับมูลค่าทางการค้าของเวียดนามมาก แค่ 5 เดือนหลังจากที่เวียดนามลงนาม ปีที่แล้วมูลค่าทางการค้า เวียดนามกับ EU เพิ่มขึ้นถึง 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเวียดนามส่งไป EU เพิ่มขึ้น 1% คิดเป็นมูลค่า 12.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งอันนี้ส่งผลเห็นได้ชัดเจน เพราะ สหภาพยุโรป เป็นกลุ่มเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ก็จะได้ประโยชน์กับเวียดนามด้วย
สำหรับข้อตกลงที่ 2 ก็คือข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership : CPTPP) ปัจจุบันมีสมาชิก 10 ประเทศ และพันธมิตรอีก 5 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลียนิวซีแลนด์ ทั้งหมดตรงนี้นับว่าเป็นข้อตกลงที่ใหญ่ที่สุดก็ว่าได้ เพราะว่ามี GDP คิดเป็นที่เป็นสัดส่วน ถึง 30 % ของ GDP โลก อันนี้เป็นข้อตกลงการค้าที่ใหญ่มาก
ข้อตกลงล่าสุดคือ FTA ระหว่าง เวียดนาม กับ สหราชอาณาจักร (UK) คือตอนที่สหราชอาณาจักรมีข่าวว่า อยากจะออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เวียดนามก็ดำเนินนโยบายเรื่องของเขตการค้าเสรีตรงนี้ เริ่ม 1 มกราคมปี 2564 นี้เอง ซึ่งตรงนี้เป็นการดำเนินนโยบาย ที่เวียดนาม เหมือน กับจะได้แต้มต่อในเรื่องของการลงทุนในเวียดนาม เวลาผลิตเพื่อจะส่งออกไป การส่งออกก็จะได้ภาษีศุลกากรที่มีอัตราลดลง
สำหรับการค้าไทยและเวียดนาม ภาพลักษณ์สินค้าไทยต่อผู้บริโภคเวียดนามค่อนข้างดี มองว่าสินค้าไทยเป็นสินค้าที่ดี และมีคุณภาพ เป็นสินค้าที่เขาใช้แล้วรู้สึกสบายใจ มีความมั่นใจ เพราะว่าที่ผ่านมาประเทศไทยกับเวียดนามเป็นคู่ค้า อันดับ 1 ของเวียดนามในกลุ่มประเทศอาเซียน สินค้าที่เวียดนามส่งออกมาไทยคือ โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนสินค้าที่นำเข้าจากไทยก็จะเป็น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ก็จะมีสินค้าในกลุ่มของอุปโภคบริโภค ที่สินค้าไทยสามารถเข้ามาทำการตลาดได้ดี แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเดินไปตามชั้นวางสินค้าในห้างสรรพสินค้าไม่ได้มีแค่สินค้าจากประเทศไทยแต่มีสินค้าจากนานาประเทศ อย่างที่บอกพอมี FTA เกิดขึ้นสินค้าก็เข้ามาในประเทศ เข้ามามากขึ้น ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกินหรือคอสเมติกต่างๆนานา
“อันนี้มักจะบอกกับผู้ส่งออกประจำว่า ถ้าใครจะเข้ามาทำตลาดที่เวียดนาม ควรจะต้องมีการศึกษาตลาดก่อน ควรจะศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคก่อน ควรมีการกำหนดในเรื่องของ ราคาสินค้าของตัวเองก่อน อย่าเข้ามาแล้วมาหวังว่าเดี๋ยวจะมาหาเอาข้างหน้าหรืออะไรอย่างนี้ อันนี้ขอให้ศึกษาข้อมูลตลาดมาก่อนนิดนึง ที่พูดอย่างนี้เพราะว่า อย่างที่ทราบเวียดนามเอง เป็นประเทศที่มีภูมิประเทศที่ยาว เหนือถึงใต้ ในพื้นที่ที่ยาวตรงนี้ พฤติกรรมการบริโภค ของผู้บริโภคชาวเวียดนามทั้งเหนือและใต้ ไม่มีความเหมือนกัน ไม่เหมือนกันเลยอย่างเช่น ทางเวียดนามใต้เองผู้บริโภค ส่วนใหญ่ จะเป็นวัยทำงาน เป็นผู้มีรายได้ปานกลางและเขามีการพร้อมใจที่จะเปิดรับสินค้า ใหม่ๆ พูดง่ายๆเวลาทำตลาดมา เขาพร้อมที่จะมีการเปลี่ยนเพื่อที่จะทดลองสินค้าตัวใหม่ๆ เพราะฉะนั้นแล้ว มันเป็นข้อได้เปรียบตรงที่ว่าสินค้าเราสามารถมาทดลองตลาดได้
แต่ถ้าไปขายทางภาคเหนือ ผู้บริโภคจะค่อนข้างมีความภักดีในตราสินค้านั้นๆ มีแบรนด์รอยัลตี้ การเปิดใจยอมรับสินค้าใหม่ๆ จะใช้เวลานิดนึง ซึ่งอันนี้เป็นพฤติกรรมของผู้บริโภค พี่ไม่เหมือนกันของทั้งทางเหนือและทางใต้ไม่ใช่แค่เพียงผู้บริโภคจะบอกว่าวัฒนธรรมเองหรือว่าภาษาเองก็มีความแตกต่างกัน เรามักจะพูดประจำว่าภาษาที่ใช้ทางเหนือและทางใต้ต่างกัน เวลาท่านมาทำตลาดที่เวียดนามแล้วเนี่ยฉันจะหาล่ามหรือหาผู้ช่วยขาย ท่านต้องตรวจสอบก่อนว่าล่ามของท่านสามารถที่จะพูดรู้เรื่องไหม ไปทางใต้ไปพูดทางภาษาภาคเหนืออาจจะไม่รู้เรื่องก็ได้อะไรอย่างนี้” ดร.สุภาพร กล่าว
ทั้งนี้ ถ้าเป็นสินค้าที่มีในเวียดนาม เป็นที่รู้จักของคนเวียดนาม ก็แน่นอนว่าจะเป็นเรื่องของสินค้าอุปโภคและบริโภค อันนี้เวียดนามรู้จัก แต่จะมีสินค้ากลุ่มใหม่ๆ เหมือนกับเป็น Niche Market ที่มีโอกาสทำการตลาดได้ดี ทำการค้าได้ดีในเวียดนาม อันนี้เป็นการศึกษาและวิจัยที่น่าสนใจมากเลย เพราะว่าคนเวียดนามแต่งงานอายุน้อย และรัฐบาลอยากให้มีลูกเยอะๆ เพราะฉะนั้นสินค้าในกลุ่มของแม่และเด็กมีแนวโน้มที่ดีและมีโอกาสที่จะมาทำตลาดได้ในประเทศเวียดนาม มีทั้งของเล่นเด็ก ผ้าอ้อม และสินค้าขวดนมสินค้าอนามัยเด็กและของสำหรับเด็กสามารถที่จะเข้ามาได้ เพราะว่าตอนนี้คนเวียดนามเองรุ่นใหม่ 1 มีประชากร 97 ล้านคนและ 97 ล้านคน 60% คือวัยทำงาน วัยทำงาน คือกลุ่มที่เป็นแม่นี่ล่ะค่ะที่มีกำลังซื้อด้วยและในทางกลับกัน มีการหาข้อมูลมากขึ้น เพราะเขามีเวลาที่จะดู Instagram นั่งดูศึกษาข้อมูลต่างๆอันนี้คือไลฟ์สไตล์ของคนเวียดนามเพราะฉะนั้นในกลุ่มสินค้าที่เข้ามาจะเข้ามาพร้อมกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่สามารถสร้างการตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าอันนั้นได้
“มีอีกตัวหนึ่ง ที่เห็นเพิ่มขึ้นในตลาดสินค้าก็คือสินค้าของสัตว์เลี้ยง อาหารสัตว์เลี้ยงของเล่นสัตว์เลี้ยงหรือแม้กระทั่งสิ่งของต่างๆขนม เพราะตอนที่เราเคยทำแบบที่ให้กับผู้ประกอบการ เรามีการ Research ดูว่ามีร้าน สัตว์เลี้ยงหรือผู้นำเข้าสัตว์เลี้ยง ยังไงบ้างปรากฏว่าขึ้นมาเยอะมาก แต่ก่อนเนี่ยมีคนเคยเล่าให้ฟังว่า เขาติดผ้าเวียดนามว่าไม่เป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยง อาจจะรับประทานบางอย่าง ซึ่งจริงๆไม่ใช่เลย ตอนนี้เปลี่ยนไป เห็นข้างนอกก็คือมีการนำสุนัขมาเดินด้วยอะไรอย่างนี้ คือสุนัขเป็นเพื่อนที่จะคอยอยู่ด้วย"
ทางด้านการค้าออนไลน์แบบ E commerce ของเวียดนาม ก่อนโควิดก็มีตัวเลขที่โตแล้ว หลังโควิดยิ่งโตขึ้นไปอีก เรื่องของการค้าผ่านระบบช่องทาง แพลตฟอร์มออนไลน์ เวียดนามเองตอนนี้ประเทศเปิดมาก การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นเหมือนบ้านเรา แต่เขาถี่มาก ก็คือเรื่องผลกระทบจากการระบาดของโควิด ทำให้ประชาชนอยู่บ้าน มีกิจกรรมที่บ้านมากขึ้น เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้คือ สามารถตอบโจทย์และจะมี Start Up ใหม่ๆ ของเวียดนามที่ทำเรื่องของแพลตฟอร์มต่างๆ มาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เช่น ชานม1 แก้ว ก็สั่งเดลิเวอรี่แล้ว พอตอนช่วงโควิดแรกๆ ปุ่มสีเขียวก็ไปยืนตามร้านไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นอาหารสด ส่วนช่องทางการขนส่งของเวียดนามหลังจากโควิดมันเพิ่มขึ้นมาก เราบอกอยู่ประจำนะคะว่าช่องทางนี้เป็นช่องทางที่คนที่จะเข้าตลาดควรให้ความสำคัญด้วย เพราะคนเวียดนาม ที่นี่มีร้านกาแฟเยอะมาก คนเวียดนามมานั่งหาข้อมูล ในร้านกาแฟเพื่อใช้อินเตอร์เน็ตฟรี หาข้อมูลและสั่งซื้อสินค้า ต่างๆ ออนไลน์ ซึ่งแต่ก่อนเวียดนามใช้เงินสดจ่ายเดลิเวอรี่ แต่พอหลังจากมีโควิดมันมีการ กระตุ้นให้ใช้เรื่องของการโอนเงินออนไลน์ โดยการหักเงินกัน เรื่องของบัตรเครดิต อะไรต่างๆมากขึ้นเพราะฉะนั้นแล้วมันง่ายขึ้นสำหรับคนเวียดนาม
ดร.สุภาพร กล่าวว่า การที่มีการพูดถึงประเด็นค่าแรงงานเวียดนามต่ำมาก อันนี้จะต้องาเปิดบริษัทที่นี่ คือค่าแรงที่เวียดนามเนี่ย ต่ำกว่าประเทศไทย ต่ำกว่ามาตรฐาน แต่ว่าค่าแรงของเวียดนามมีการเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละเฉลี่ยประมาณ 10 % และที่สำคัญคือมีในเรื่องของค่าแรงอื่นๆ ที่เกิดจากสวัสดิการต่างๆ ที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้ลูกจ้างชาวเวียดนามก็จะมีข้อต่างๆและที่สำคัญค่าแรงของแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน เหมือนกับว่าตั้งอยู่ในพื้นที่ไหนขอให้ตรวจสอบก่อนว่า พื้นที่นั้นค่าแรงเท่าไหร่ มีสวัสดิการอะไรที่ท่านต้องจ่ายบ้าง คือต้องรวมต้นทุนว่าท่านต้องจ่ายอะไรบ้าง
“หากผู้ประกอบการสนใจต้องการข้อมูลการค้าในเวียดนาม สามารถติดต่อมาได้ที่สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งในประเทศเวียดนามมีอยู่ 2 แห่งคือ นครโฮจิมินห์คือทางภาคใต้ และกรุงฮานอยคือภาคเหนือ มีความแตกต่าง เพราะฉะนั้นเวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศเดียวในอาเซียนที่มี 2 สำนักงาน ซึ่งสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และตัวดิฉันเองมีหน้าที่ในการแนะนำผลักดันบริการสินค้าของไทยที่จะเข้ามาทำตลาด และช่วยเหลือทุกท่าน ทั้งผู้ลงทุนผู้ประกอบการผู้ที่ต้องการ ขยายตลาดมาที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งอันนี้เรามีข้อมูลข่าวสาร เรื่องของขั้นตอนต่างๆที่จะเป็นประโยชน์ มีข่าวสารที่เราส่งให้ทุกท่านได้อ่านอยู่ตลอด ให้ท่านอัพเดทข้อมูลข่าวสารของเวียดนาม และในเรื่องของสำนักงานก็คือช่วยกันที่จะทำให้ทุกท่าน ทำการบ้านเรียนรู้ตลาด และเราจะมีการจัดกิจกรรมช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการทุกท่าน เข้าตลาดไม่ว่าจะเป็นการ อภัยแบรนด์หรือบรีฟ หรือการจัดการเจรจาการค้าซึ่ง ปัจจุบัน ถ้าเราจัดธรรมดาไม่ได้เราก็จัดแบบออนไลน์ ก็คือให้ท่านได้ขายสินค้าและคุยกับทางผู้นำเข้าที่มีศักยภาพของประเทศเวียดนามแล้วก็มีการเชิญให้มาแม็ทชิ่งกันในขณะเดียวกันเราก็มีการจัดทำการแก้ไขอุปสรรคต่างๆทางการค้าก็คือเราก็เป็นทุกอย่างให้ท่านค่ะเราช่วยเหลือหมด ไม่ว่าท่านจะต้องการข้อมูลข่าวสารเรื่องอะไร ก็มาที่สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้” ดร.สุภาพร กล่าว
รับชมวีดีโอ คลิก https://www.youtube.com/watch?v=4x0YfLvb6sw
-
Exporter World Talk EP:19 ‘ฮาลาลไทย ไปตลาดโลก’
วันที่ 18 พฤษภาคม 2564 Exporter World Talk EP:19 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ ดร.ธีระวุฒิ มูฮำหมัด กรรมการอิสลาม ประจำกรุงเทพมหานคร มาสนทนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในเรื่อง “ฮาลาลไทย ไปตลาดโลก&rdqu...
16.08.2021
-
Exporter World Talk EP:03 “ตู้คอนเทนเนอร์กับปัญหาส่งออก”
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 Exporter World Talk EP:03 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญคุณคงฤทธิ์ จันทริกปริวัฒน์ ผู้อำนวยการบริหาร สภาผู้ส่งออกทางเรือแห่งประเทศไทย มาคุยกันเรื่อง “ตู้คอน...
22.03.2021
-
Exporter World Talk EP:11 ‘ อัปเดตสถานการณ์การค้ากับทูตพาณิชย์อินโดนีเซีย ‘
วันที่ 5 มีนาคม 2564 Exporter World Talk EP:11 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณภรภัทร พันธ์งอก อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงจาการ์ตา มาสนทนา ‘ อัปเด...
17.05.2021