Exporter World Talk

Exporter World Talk EP:21 ‘ส่งออกอย่างไรให้ได้เงิน’

วันที่ 29 มิถุนายน 2564 

Exporter World Talk EP:21  ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า  เชิญ คุณสมชาย พันธ์นาค ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจธนาคาร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และวิธีการป้องกันการที่ผู้ส่งออกโดนโกงค่าสินค้าที่ส่งออกไปแล้ว แต่ผู้ซื้อที่ประเทศปลายทางไม่ชำระเงินให้ตามสัญญา

คุณสมชาย เปิดเผยว่า โอกาสที่ผู้ส่งออกส่งสินค้าไปแล้วแต่ไม่ได้รับชำระเงิน เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้จริง เป็นความเสี่ยงทางการค้า แต่ก่อนที่จะบอกว่าจะทำอย่างไรจะปิดความเสี่ยงนี้ ก็ต้องย้อนกลับไปดูในเรื่องของเครื่องมือวิธีการชำระเงินของการทำการค้าระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีอยู่ 4 วิธี คือ

1.Advance of Payment การโอนเงินชำระล่วงหน้าที่ผู้ซื้อจ่ายให้กับผู้ขายก่อน

2.Open Account เป็นการให้เครดิตที่ผู้ส่งออกส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อก่อน หลังจากนั้นเมื่อถึงกำหนดชำระเงิน ผู้ซื้อก็จะโอนเงินมาให้คนขาย

3.Bill for Collection ที่ธนาคารเป็นคนกลางในการเรียกเก็บเงินให้ ซึ่งแบ่งย่อยออกมาเป็นDocument against payment หรือ ตั๋ว D/P คือการยื่นหมูยื่นแมว เมื่อผู้ส่งออกส่งสินค้าลงเรือ และจัดทำเอกสารเรียบร้อย จะต้องส่งเอกสารไปเรียกเก็บเงินผู้ซื้อ โดยผ่านธนาคารของผู้ซื้อ เมื่อธนาคารของผู้ซื้อได้รับเอกสารแล้ว ธนาคารของผู้ซื้อจะเรียกผู้ซื้อมารับเอกสาร อันดับแรกคือมาจ่ายเงินก่อน เมื่อจ่ายเงินเรียบร้อยผู้ซื้อถึงรับเอกสารไปออกของ

อีกตัวหนึ่งคือ  Document against acceptance หรือ D/A เป็นเครดิตเทอมที่ผู้ขายให้กับผู้ซื้อ ธนาคารเป็นคนกลางในการชำระเงินเช่นเคน เพียงแต่ผู้ซื้อจะต้องมาลงนามประทับตรารับสภาพหนี้ที่ธนาคารของผู้ซื้อ หลังจากนั้นก็รับเอกสารไปออกของที่ท่าเรือปลายทาง เมื่อครบกำหนดชำระเงินผู้ซื้อก็จะโอนเงินมาให้กับผู้ขาย

4.Letter of Credit หรือ L/C คือธนาคารทำหน้าที่เป็นตัวกลางเมื่อผู้ขายส่งสินค้าเรียบร้อย ตรวจสอบสินค้าถูกต้องครบถ้วน ธนาคารก็จ่ายเงินให้แน่นอน

คุณสมชาย กล่าวว่า ใน 4 วิธีนี้  การค้าแบบ Advance of Payment  ทางผู้ขายจะได้เงินรับเงินแน่นอนเพราะต้องได้รับเงินก่อน   ส่วนวิธี Open Account  มีโอกาสที่คนขายจะไม่ได้รับการชำระเงิน เพราะเราให้เครดิตเทอมกับเขาไปก่อน ผู้ซื้อได้สินค้าไปแล้วอีก 60 วัน หรือ 90 วัน ผู้ซื้ออาจจะไม่มีเงินมาชำระค่าสินค้าให้กับคนขายก็ได้

สำหรับวิธีการค้าแบบ Bill for Collection  ที่เราแบ่งเป็นตั๋ว D/P และ ตั๋ว D/A ก็ยังมีความเสี่ยง มีหลายกรณีที่ผู้ซื้อมีการตกลงกันไว้เรียบร้อยแล้ว คนขายส่งสินค้าเรียบร้อยแล้วเอกสารไปถึงเคาน์เตอร์ธนาคารผู้ซื้อเรียบร้อย  ธนาคารเรียกผู้ซื้อมาจ่ายเงินและมารับเอกสารไปออกของ แต่ผู้ซื้อปฏิเสธที่จะมาจ่ายเงินที่ธนาคารของผู้ซื้อ แม้จะส่งสินค้าเรียบร้อยเพราะผู้ซื้อบอกว่า ณ เวลา ที่ผู้ซื้อจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว เวลาที่ผู้ซื้อจ่ายเงิน ผู้ซื้อบอกว่าเขาไม่ต้องการสินค้านั้นแล้ว หรือกรณีที่สอง ผู้ซื้อบอกว่าเขาไปได้สินค้าจากซัพพลายเออร์รายอื่นในราคาที่ถูกกว่า  เพราะฉะนั้นผู้ซื้อก็ไม่จ่ายเงินที่ธนาคารผู้ซื้อ และไม่สนใจที่จะรับสินค้าด้วย

ในกรณีที่ผู้ซื้อปฎิเสธไม่รับสินค้าธนาคารก็ไม่สามารถรับผิดชอบแทนผู้ประกอบการด้วย เพราะว่า Bill for Collection ธนาคารเป็นแค่คนกลาง หรือ เรียกง่ายๆ เป็นแค่ Messenger เป็นข้อตกลงของผู้ซื้อผู้ขายจะปฎิบัติตามคำสั่งคนขายอย่างเคร่งครัด เขาขอให้ผู้ซื้อมาชำระเงินรับเอกสารไปออกของ หรือมาเซ็นรับสภาพหนี้เพื่อรับเอกสารไปออกของ แต่ D/P ถ้าเขาไม่มาจ่ายเงินของก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของคนขายอยู่  ส่วน D/A คนขายให้เครดิตเทอมกับคนซื้อ เมื่อผู้ส่งออกจัดทำเอกสารเรียบร้อยแล้ว เอามายื่นที่ธนาคารของตนเอง เช่นมายื่นที่ EXIM BANK  ทาง EXIM BANK จะส่งเอกสารไปที่ธนาคารของผู้ซื้อให้ผู้ซื้อมาเซ็นชื่อรับสภาพหนี้ แต่เมื่อถึงกำหนดชำระค่าสินค้าเขาปฎิเสธ กรณีอย่างนี้ธนาคารของผู้ซื้อไม่ต้องรับผิดชอบอะไรก็ได้ เพราะธนาคารของผู้ซื้อปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ขาย ไม่ว่าจะเป็น Open account หรือ D/A

“เราเคยมีประสบการณ์ตรงที่ลูกค้าขายกันมานานมากมีการให้เครดิตเบื้องต้นอาจจะมีการส่งสินค้าทุกเดือน เดือนละ 1 ล็อต ราคา 1 แสนยูเอสดอลลาร์ ให้ฟรีเทอมละ 120 วัน  งวดแรกที่ซื้อไม่ยอมมาชำระเงินหลังจากนั้นก็สูญทั้งหมดเลย”

สำหรับวิธีการค้าแบบตั๋ว L/C  ต้องดู Concept ของ L/C คือธนาคารจะทำประกันการชำระเงินให้กับผู้ส่งออกถ้าผู้ส่งออกจัดทำเอกสารถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขของ L/C  แต่หากไม่ทำตามเงื่อนไข ธนาคารผู้เปิด L/C ก็จะปฏิเสธการชำระเงิน ดังนั้นก็จะมีโอกาสที่ผู้ขายไม่ได้รับการชำระเงิน ดังนั้นแม้จะค้าขายด้วย L/C ก็ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับเงินแน่นอน หากมีการทำผิดเงื่อนไข ในเรื่องการค้าภายใต้ L/C ธนาคารจะเกี่ยวข้องด้านเอกสารเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าหากทำเอกสารถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไข L/C ผู้ส่งออกสบายใจได้จะต้องชำระเงินแน่นอน

คุณสมชาย กล่าวว่า มีคำที่เกี่ยวข้องคือคำว่า Discrepancy L/C มันคือข้อผิดพลาดที่ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วนตามเงื่อนไข  สิ่งแรกที่อยากจะแนะนำผู้ส่งออกก็คือว่าผู้ส่งออกที่ได้รับ L/C มา อันดับแรกเลยผู้ส่งออกต้องตรวจสอบก่อนว่า L/C ฉบับนั้น เป็นไปตามที่ตกลงกันหรือเปล่า ข้อมูลเนื้อหาทั้งหมดเป็นไปตามที่ตกลงกันไหม  จำนวนราคาขายต่อหน่วย Incoterms ถูกต้องไหม

อันดับที่ 2 คือ ต้องดูว่าเอกสารที่เขาต้องการนั้นเราจัดหาให้ได้หรือเปล่า เช่น เขาร้องขอ Invoice f วอยรนั้นเราจัดหาจัดหารขาร้องขอเสมอไปาสินค้าเขาปทขอ Certificate ต่างๆ  เอกสารทั่วไปไม่มีปัญหา แต่อาจมีปัญหาอื่น เช่นเขาร้องขอ  Certificate of origin ฟอร์ม A คือเอกสารต้นทาง มันเป็นเอกสารที่ต้องออกโดยกรมการค้าระหว่างประเทศ อันนี้มันมีไว้เพื่อให้ผู้นำเข้าส่งออกนำไปลดหย่อนหรือไปยกเว้นภาษีนำเข้าในประเทศของเขา  ดังนั้นที่อยากจะแนะนำคือ  ตรวจสอบว่า L/C  งั้นเราสามารถที่จะปฏิบัติได้ไหม เราจะทำตามเงื่อนไขข้อตกลงได้ไหม  ย้อนกลับไปที่คำว่า Discrepancy  หากผู้ส่งออกนำสินค้าลงเรือแล้วจัดทำเอกสารแล้วปรากฏว่าผู้ส่งออกจัดทำเอกสารไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนตามเงื่อนไข เห็นเขาบอกว่าให้นำส่งสินค้าลงเรือภายในวันที่ 25 เดือน 6 แต่ปรากฏว่าผู้ส่งออกส่งสินค้าลงเรือไม่ทัน ไปส่งสินค้าลงเรือวันที่ 30 เดือน 6 อย่างนี้ ถือว่าเอกสารไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขของ L/C ที่เขาตกลงกันไว้เพราะฉะนั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องของความผิดพลาด Discrepancy

คุณสมชายยกตัวอย่างปัญหาการส่งออกที่ไม่ได้รับชำระเงินที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วให้ฟังว่า เคยมีกรณีการส่งออกสินค้าในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ซึ่งเป็นช่วงก่อนปีใหม่ จะมีผู้นำเข้าส่งออเดอร์เข้ามาเยอะเพื่อให้ผู้ส่งออกเราเตรียมสินค้าส่งไป แต่ปรากฏว่าทางผู้ส่งออกใช้เวลาเตรียมสินค้านานเกินไป เมื่อส่งออกไปแล้ว ปรากฏว่าสินค้าไปถึงปลายทางหลังเทศกาลคริสต์มาส ทางผู้นำเข้าปฎิเสธรับสินค้า ที่นี้ในเรื่องของ L/C  เนื่องจากมีข้อตกลงว่าจะต้องส่งสินค้าลงเรือให้สินค้าไปถึงก่อนคริสต์มาส  แต่สินค้าไปถึงปลายทางหลังคริสต์มาสจึงถูกปฏิเสธที่จะไม่รับสินค้าไม่จ่ายเงิน

ในกรณีเช่นนี้แนวทางแก้ไขอันดับแรกต้องเจรจากับผู้ซื้อ โดยขอให้เขายินยอมรับสินค้าพวกนี้ อาจจะต้องลดราคาสินค้าให้กับผู้ซื้อ หรือกรณีที่ 2 ถ้าผู้ซื้อไม่สนใจจริงๆ หรือไม่ยอมรับสินค้าทั้งๆที่เราลดราคาให้แล้ว  อาจต้องเจรจากับผู้ซื้อรายใหม่ในเบื้องต้น สิ่งที่อยากจะแนะนำผู้ส่งออก ถ้าเราทราบว่าผู้ซื้อปฏิเสธการชำระเงิน ไม่ยอมรับสินค้า สิ่งแรกคือต้องรีบหาทางออก เพราะถ้าสินค้าไปอยู่ที่ท่าเรือนานๆ มันจะเสียค่าใช้จ่ายเยอะแยะมากมาย บางทีเราอาจจะต้องลดราคาให้ลูกค้า 5 ถึง 10 % หรือต้องเจรจาผู้ซื้อรายใหม่ ถ้าหากไม่สามารถหาผู้ซื้อรายใหม่ได้  จำเป็นจะต้องนำสินค้ากลับมาเมืองไทยจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ตั้งค่าภาษีอะไรต่างๆ หรือค่าศุลกากรเยอะแยะมากแล้วทางแก้ไขอยากให้หนึ่งเจรจาลดราคาสินค้าต่อผู้ซื้อ 2 คือหาผู้ซื้อรายใหม่

ดังนั้น ทำการค้าระหว่างประเทศก็มีความเสี่ยง  หากสามารถป้องกันความเสี่ยงได้ก็ควรจะทำ ซึ่งมีวิธีการปิดความเสี่ยงเพื่อไม่ให้ส่งออกไปแล้วไม่ได้รับเงินหลายทาง เช่น หากเราเป็นผู้ส่งออก เรามีผู้ซื้อรายเดิมอยู่แล้ว หรือมีผู้ซื้อรายใหม่เข้ามา จะสังเกตว่าผู้ส่งออกมีวงเงินอยู่กับธนาคารธนาคารเหล่านั้นจะต้องมีการรีวิววงเงินของท่านทุกๆ ปี 

“ถ้าหากผู้ประกอบการถ้าเราให้เครดิตกับผู้ซื้อ ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหน เราควรจะต้องมีการทบทวนรีวิวผู้ซื้อทุกปีเราควรตั้งวงเงินให้กับเขาอย่างเหมาะสม หรือถ้าเป็นผู้ซื้อรายใหม่ที่เรายังไม่รู้จักพื้นฐานของเขา เราควรต้องตรวจสอบ โดยรวมๆ แล้ว ทั้งผู้ซื้อรายใหม่หรือรายเก่า เราจะต้องตรวจสอบสุขภาพประจำปีทุกปีว่าเครดิตยังดีอยู่ไหม” คุณสมชายกล่าว

ในกรณีที่มีการส่งออกไปแล้ว อยากแนะนำให้มีการปิดความเสี่ยงด้วยการทำประกันการส่งออก เช่น ถ้าเราให้เครดิตลูกค้า 20 ล้านบาท เรามั่นใจหรือเปล่าว่าที่เราค้าขายกันมานาน หลายปีเขาจะไม่โกงเรา เขาอาจจะมีปัญหากับผู้ซื้อรายอื่นก็ได้เพราะฉะนั้นเราควรจะต้องปิดความเสี่ยง ด้วยการทำประกันการส่งออก

ทางด้านการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน  การที่เราค้าขายกับต่างประเทศเราใช้สกุลดอลลาร์สหรัฐ  เงินสกุลยูโร เงินเยน  การที่เรารับเงินแล้วแปลงเป็นเงินบาท เรามีโอกาสจะเจอความเสี่ยงอัตราการแลกเปลี่ยนหากค่าเงินในขณะนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอ่อนค่าหรือแข็งค่า

นอกเหนือจากความเสี่ยงที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีความเสี่ยงในเรื่องของการขนส่งสินค้า ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องอยู่ 2 ตัวคือ  1.การที่เราส่งสินค้าลงเรือจากท่าเรือแหลมฉบัง สมมุติส่งไปที่สหรัฐอเมริกา ระหว่างทางเราขนส่งสินค้าจากเรือสินค้าบุบ แตก หัก หรือเปียกน้ำก็ได้ เพราะฉะนั้นจะต้องมีการทำประกันภัยด้วย อันนี้คือการทำประกันตัวสินค้า  หรือเรียกว่า “มารีนอินชัวรันส์” การทำประกันสินค้านี้ ผู้ส่งออกต้องทำหรือเปล่า ต้องเคลียร์ให้ชัด ความจริงแล้วก็ไม่เสมอไป แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าต้องทำหรือไม่ต้องย้อนไปดู Incoterms ว่าข้อตกลงการส่งมอบสินค้ากับผู้ซื้อว่าเราตกลงกันไว้แบบไหน

“ผมยกตัวอย่าง Incoterms  อีก 3 ตัว คือ FOB  หรือ Free On Board  ถ้าผู้ซื้อตกลง Incoterms แบบ FOB หมายความว่าผู้ส่งออกแค่นำเอาสินค้าไปวางบนเรือ ก็จบสิ้นกระบวนการส่งมอบสินค้า กรณีแบบนี้ผู้ส่งออกไม่ต้องจ่ายค่าประกัน ค่าระวางเรือ

กรณีที่2 คือ Incoterms แบบ C & F หรือ Cost and Freight อันนี้ผู้ส่งออกก็นำสินค้าไปวางไว้บนเรือที่จอดรอที่ท่าเรือพร้อมทั้งจ่ายค่าระวางเรือ ผู้ส่งออกไม่ต้องทำประกันภัยทางทะเล

กรณีที่ 3 คือ CIF หรือ Cost Insurance and Freight  ผู้ส่งออกต้องทำประกันทางน้ำด้วย” คุณสมชายกล่าว

สำหรับตัว L/C ที่ อยากเจาะลึกลงไป มันมี 2 ประภทคือ Commercial Letter of Credit หรือที่เรียกสั้นๆว่า Commercial L/C และ Standby Letter of Credit หรือที่เรียกกันว่า Standby L/C ก็มีความแตกต่างกันในเงื่อนไข

ในเรื่องของ commercial  L/C นั้น เมื่อธนาคารเปิด L/C มาแล้ว ผู้ส่งออกจะนำสินค้าลงเรือจัดทำเอกสารแล้วก็เรียกเก็บเงิน พอธนาคารผู้เปิด L/C ได้รับเอกสารแล้วก็จะตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสาร ถ้าถูกต้องครบถ้วนเขาก็จ่ายเงิน นั่นคือลักษณะของ commercial L/C

“แต่หากเป็น Standbuy L/C เป็นเรื่องของการค้ำประกัน ประเภทเดียวกับหนังสือค้ำประกัน ถ้าจะพูดง่ายๆ ยกตัวอย่างว่า ผมออกหนังสือสมมติว่า Exim Bank ออกหนังสือรับประกันการชำระค่าไฟฟ้าให้กับผมเอาไปวางไว้ที่การไฟฟ้าว่าผมจะต้องจ่ายค่าไฟทุกเดือนแต่ถ้าวันใดไม่จ่ายค่าไฟ ตัวหนังสือค้ำประกันที่ Exim Bank ออกไว้ให้กับการไฟฟ้าถือไว้จะมีผลบังคับใช้ทันที  ดังนั้นหมายความว่า commercial  L/C ส่งออกไปแล้วก็ไปเรียกเก็บเงิน แต่ Standbuy L/C ถ้าผมปฏิบัติตามเงื่อนไขทุกอย่าง และสแตนบายจะมีผลผูกพันหรือมีผลบังคับใช้ต่อเมื่อ ผมไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุ ถ้าผมไม่จ่ายค่าไฟให้การไฟฟ้า เขาก็จะมาเคลมที่ eximbank ภายใต้ Letter of Guarantee หรือ Standbuy L/C

นอกจาก 2 ตัวนี้แล้ว ยังมี Back to Back Letter of Credit หรือ Back to Back L/G  กรณีนี้ถ้าผู้ส่งออกเป็นผู้ผลิตเอง มีสินค้าเอง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ Back to Back L/G  ตัวนี้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ส่งออกเป็นนายหน้าไม่มีสินค้า จำเป็นจะต้องซื้อสินค้าจากที่อื่นเข้ามา ยกตัวอย่าง คุณเป็นนายหน้าอยู่ในเมืองไทยได้รับ L/G   มาฉบับหนึ่ง บอกว่าต้องการสั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์ 1 แสนดอลลาร์สหรัฐ  แต่คุณเป็นนายหน้าไม่มีโรงงานของตนเอง แต่มีคอนแทคสามารถที่จะไปหาโรงงานอื่นให้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ให้ได้  เช่น อาจจะไปรู้จักกับโรงงานแห่งหนึ่งในจีนสามารถผลิตเฟอร์นิเจอร์ให้ได้ อาจจะหาได้ราคาซัก 7หมื่นดอลลาร์สหรัฐ  แต่เราได้รับมา 1 แสนดอลลาร์สหรัฐ   และต้องการไปเปิดบิล 7 หมื่นดอลลาร์สหรัฐที่ประเทศจีน วิธีทำคือนำเอา L/C  มูลค่า 1 แสนดอลลาร์สหรัฐมาติดต่อที่ EXIM BANK และขอให้ EXIM BANK เปิด L/C  อีก 1 ฉบับ มูลค่า 7 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ ไปที่ประเทศจีน  อย่างนี้เรียกว่า Back to Back L/G

กรณีของการ Back to Back L/G นั้น ผู้ที่เป็นนายหน้ามีภาระที่จะต้องรับผิดชอบที่จะต้องจ่ายเงิน 7 หมื่นดอลลาร์สหรัฐไปให้กับโรงงานในจีนก่อน แต่ก็มีวิธีที่เราจะไม่ต้องรับภาระได้คือให้ทางผู้ซื้อในอเมริการะบุในเงื่อนไขว่า L/G นี้ สามารถที่จะทรานเฟอร์ได้  ก็สามารถที่จะเอา L/G ฉบับนี้ร้องขอให้ EXIM Bank ทรานเฟอร์ L/G ไปที่ประเทศจีนได้เลยโดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไร

คุณสมชาย กล่าวว่า ในเรื่องการโอนเงินระหว่างประเทศ กรณีที่ผู้ซื้อปลายทางโอนเงินค่าสินค้ามาให้เราแล้ว แต่เราไม่ได้รับมันเกิดได้ 2 กรณี คือ

กรณีที่ 1 ผู้ซื้อปลายทางจ่ายเงินเรียบร้อยแล้วแฟ็กซ์กลับมาให้ผู้ส่งออกดูว่าจัดการเรียบร้อยแล้ว ผู้ส่งออกก็รอ 3 วัน 7 วันแล้วก็ยังไม่ได้เงิน มันเกิดปัญหาคือ ผู้ซื้อไปยื่นขอให้มีการโอนเงินแต่เงินในบัญชีอาจจะมีไม่พอ ธนาคารก็จะไม่ยอมโอนเงินมา ซึ่งหากไม่มีปัญหาเหล่านี้โอนวันเดียวก็จะได้รับเงินแล้ว  อีกกรณีที่2 เป็นเรื่องของเวลา time zone  เหมือนกับเช็คถ้าเราได้รับเช็คมาใบนึงเดินไปที่ธนาคารถ้าเอาเช็คไปเคลียร์ริ่งช่วงเช้าก็สามารถเข้าบัญชีได้เลยแต่ถ้าไปช่วงบ่ายก็อาจจะเข้าบัญชีอีกวันหนึ่งก็ได้

สิ่งที่คุณสมชายอยากให้ผู้ส่งออกระมัดระวังให้มากในเรื่องของการส่งออกคือ การตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า  “ โดยกรณีทั่วๆไปผู้ส่งออกกับผู้ซื้อต้องติดต่อกันทางอีเมล ซึ่งควรจะต้องตรวจสอบว่าคนที่ส่งข้อมูลคุยกับเราเป็นลูกค้าตัวจริง ด้วยการหาวิธีการยืนยันตัวตนทางอื่นด้วย บางกรณีมีโจรไซเบอร์แฮกบัญชีอีเมลล์ของผู้ซื้อผู้ขาย เราจะต้องบอก information เรื่องบัญชีของเงินโอนธนาคารอะไรเลขบัญชีอะไร แฮกเกอร์สามารถดูดข้อมูลและไปเปลี่ยนแปลง information เลขที่บัญชีแปลงเป็นเลขที่บัญชีของตัวเอง อาจจะเปลี่ยนตัวเลขตัวเดียว ไม่สังเกตเราจะไม่รู้ว่ามันไม่ใช่ ซึ่งเราไม่มีอากาสรู้เลยว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้นถูกต้องหรือเปล่า   เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เมื่อธนาคารโอนเงินเข้าบัญชีของแฮกเกอร์เงินจำนวนนั้นไม่สามารถเอาคืนได้ และมีอีกกรณีคือเราได้ information ในการที่มีการติดต่อกันครั้งแรกนอกจากอีเมลที่ติดต่อแล้วเราควรจะต้องติดต่อกันทางแฟกซ์หรือโทรศัพท์คอนเฟิร์มอีกครั้งในเรื่องเลขที่บัญชี อยากให้ป้องกันมากกว่าแก้ปัญหาภายหลังเพราะมักจะแก้ไม่ทันเงินมันหายไปแล้ว”

 

 

 

Most Viewed
more icon
  • Exporter World Talk EP:19 ‘ฮาลาลไทย ไปตลาดโลก’

    วันที่ 18 พฤษภาคม 2564 Exporter World Talk EP:19 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ ดร.ธีระวุฒิ มูฮำหมัด กรรมการอิสลาม ประจำกรุงเทพมหานคร มาสนทนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในเรื่อง “ฮาลาลไทย ไปตลาดโลก&rdqu...

    calendar icon16.08.2021
  • Exporter World Talk EP:03 “ตู้คอนเทนเนอร์กับปัญหาส่งออก”

    วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 Exporter World Talk EP:03 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญคุณคงฤทธิ์ จันทริกปริวัฒน์ ผู้อำนวยการบริหาร สภาผู้ส่งออกทางเรือแห่งประเทศไทย มาคุยกันเรื่อง “ตู้คอน...

    calendar icon22.03.2021
  • Exporter World Talk EP:11 ‘ อัปเดตสถานการณ์การค้ากับทูตพาณิชย์อินโดนีเซีย ‘

    วันที่ 5 มีนาคม 2564 Exporter World Talk EP:11 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณภรภัทร พันธ์งอก อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงจาการ์ตา มาสนทนา ‘ อัปเด...

    calendar icon17.05.2021